D-76 แบบแยกส่วนผสม
การใช้ D-76 แบบแยกส่วนนี้คือการแยกส่วนผสมของกลุ่มสารสร้างภาพ
ออกจากกลุ่มสารเร่งปฎิกิริยาการสร้างภาพ (สารที่มีคุณสมบัติเป็น Alkali Base)
ในขณะที่ฟิล์มอยู่ในสารละลายส่วนแรกนั้น กลุ่มสารสร้างภาพที่ซึมเข้าไปอยู่
ในเยื่อไวแสง จะมีการทำปฏิกิริยาการสร้างภาพที่ช้ามากเนื่องการยังอยู่ในสภาวะที่มีความเป็นเบสไม่สูงนัก
รวมถึงยังไม่มีสารประกอบที่จะมาเติมอณุมูลของเบส (buffer) เพราะปฏิกิริยา ในเยื่อไวแสง
ขณะมีการสร้างภาพนั้นจะเกิดกรดไฮโดรคลอลิค (HCl) และ ไฮโดรโบรมิค (HBr) ซึ่งจะทำให้ค่า
pH ของน้ำยาสร้างภาพต่ำลง แต่สิ่งที่เราต้องการ และเป็นตัวกำหนด อัตราของการสร้างภาพ
ก็คือปริมาณของสารสร้างภาพที่ซึมอยู่ในเยื่อไวแสงจากนั้นเมื่อเราเทน้ำยาส่วนแรกออก
แล้วล้างต่อทันที ในน้ำยาส่วนที่สองจะเป็นการปรับสภาวะของเยื่อไวแสงให้มีความเป็นเบสสูงขึ้นในทันทีซึ่งเป็นสภาวะเร่งปฏิกิริยาการสร้างภาพ
ปฏิกิริยาจะดำเนินไป อย่างรวดเร็วจนกระทั่ง สารสร้างภาพที่อยู่ในเยื่อไวแสงหมดเป็นอันสิ้นสุดการสร้างภาพ
หรือสิ้นสุดการล้าง
ผลดีของการใช้ D-76 แบบแยกส่วนคือ
1. เป็นการป้องกันการสร้างภาพที่มากเกินไปอันเกิดจากอุณหภูมิที่สูง หรือเวลาล้างที่มากเกินไป
ก็คือเราสามารถล้างฟิล์มในอุฌหภูมิ ตั้งแต่ 18 - 26
oC และเวลาล้างจะเคลื่อนออกไปสักครึ่งนาทีก็ไม่มีผลมากนัก
2. เวลาในการล้างสั้นลงเพราะมีการจัดลำดับการทำปฏิกิริยาอย่างชัดเจน
3. ให้ภาพที่เกรนละเอียดกว่า
4. ให้การไล่ลำดับโทนที่ดีกว่า
5. น้ำยาส่วนแรกสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เป็นการประหยัดน้ำยา
D-76 แยกส่วนนี้มีผู้คิดค้นดัดแปลงสูตรเพื่อให้ได้ผลในการล้างแตกต่างกันมากมายดังที่ผมเคยเขียนไว้ว่า
D-76 เป็นสูตรต้นแบบ ที่เข้าใจง่าย ทำให้มีการนำ D-76 ไปเป็นแม่แบบในการประยุกต์ส่วนผสมต่างๆ
สูตรต่างๆ มีดังนี้
- FDD-76 เป็นสูตร D-76 แบบแยกส่วนของ Photographers' Formulary
- PD-76 เป็นสูตร D-76 แบบแยกส่วนโดยมี Phenidone เป็นสารสร้างภาพ
- VD-76 เป็นสูตร D-76 แบบแยกส่วนของ Vestal
- FSD-76 เป็นสูตร D-76 แบบแยกส่วนของ Faber
- AP เป็นสูตร D-76 แบบแยกส่วนที่ให้ความคมชัดสูง โดยใช้ Phenidone
- Hydroquinone เป็นสารสร้างภาพ
- XAP เป็นสูตร D-76 แบบแยกส่วนที่ให้ความคมชัดสูงสุด โดยใช้ทั้ง
Metol - Phenidone - Hydroquinone (M-P-Q) เป็นสารสร้างภาพ
ส่วนผสมน้ำยาส่วน A
สารเคมี |
FDD-76 |
PD-76 |
VD-76 |
FSD-76 |
AP |
XAP |
น้ำกลั่น (35 oC) |
750 |
ml |
750 |
ml |
750 |
ml |
750 |
ml |
750 |
ml |
750 |
ml |
Phenidone |
- |
|
0.3 |
g |
- |
|
- |
|
0.7 |
g |
0.7 |
g |
Metol |
4 |
g |
- |
|
2 |
g |
2 |
g |
- |
|
1.8 |
g |
Sodium Sulfite |
100.0 |
g |
100.0 |
g |
100.0 |
g |
50.0 |
g |
100.0 |
g |
100.0 |
g |
Hydroquinone |
7.5 |
g |
5.0 |
g |
5.0 |
g |
5.0 |
g |
5.0 |
g |
5.0 |
g |
Potassium Bromide |
0.3 |
g |
1.0 |
g |
- |
|
1.0 |
g |
- |
|
- |
|
Benzotrizole |
- |
|
0.2 |
g |
- |
|
- |
|
1.2 |
g |
1.2 |
g |
Sodium Bisulfite |
- |
|
19.0 |
g |
- |
|
- |
|
20.0 |
g |
20.0 |
g |
เติมน้ำกลั่นจนครบ |
1000 |
ml |
1000
|
ml |
1000 |
ml |
1000 |
ml |
1000 |
ml |
1000 |
ml |
ส่วนผสมน้ำยาส่วน B
สารเคมี |
FDD-76 |
PD-76 |
VD-76 |
FSD-76 |
AP |
XAP |
น้ำกลั่น (35 oC) |
750 |
ml |
750 |
ml |
750 |
ml |
750 |
ml |
750 |
ml |
750 |
ml |
Sodium Metaborate |
- |
|
- |
|
- |
|
- |
|
- |
|
- |
|
Borax |
60.0 |
g |
50.0 |
g |
2.0 |
g |
60.0 |
g |
- |
|
- |
|
Sodium Carbonate (mono) |
- |
|
- |
|
- |
|
- |
|
12.0 |
g |
12.0 |
g |
Sodium Sulfite |
- |
|
- |
|
50.0 |
g |
- |
|
100.0 |
g |
100.0 |
g |
Potassium Iodide (0.1%) |
- |
|
- |
|
- |
|
- |
|
10.0 |
ml |
10.0 |
ml |
Potassium Bromide |
- |
|
- |
|
- |
|
- |
|
0.5 |
g |
0.5 |
g |
เติมน้ำกลั่นจนครบ |
1000 |
ml |
1000 |
ml |
1000 |
ml |
1000 |
ml |
1000 |
ml |
1000 |
ml |
สารละลาย Potassium Iodide (0.1%) เตรียมโดยละลาย Potassium Iodide 1 กรัม
ในน้ำ 1 ลิตร
การผสม
สำหรับส่วน A อย่าลืมใส่ Sodium sulfite ลงไปเล็กน้อยก่อนเป็นอย่างแรกแล้วจึงใส่สารสร้างภาพ
อายุการเก็บ
ส่วน A เต็มขวดเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน น้ำยาที่เคยใช้แล้วอายุการเก็บจะเหลือประมาณ
2 เดือน ส่วน B เก็บไว้ได้นาน 3 เดือน
การใช้
ใช้ล้างในช่วงอุฌหภูมิ ตั้งแต่ 18 - 26 oC
(อุฌหภูมิห้อง) เวลาในน้ำยาส่วน A ไม่ต้องแม่นยำนักก็ได้ ส่วนเวลาในการล้างน้ำยาส่วน
B ซึ่งเป็นส่วนควบคุมอัตราเร็วในการเกิดปฏิกิริยา สามารถคลาดเคลื่อนได้ประมาณ
30 วินาที
น้ำยา |
FDD-76 |
PD-76 |
VD-76 |
FSD-76 |
AP |
XAP |
(A) |
3 min. |
3 min. |
5 min. |
3 min. |
22 min. |
24 min. |
(B) |
3 min. |
3 min. |
5 min. |
2-4 min. |
24 min. |
24 min. |
การเขย่า สำหรับน้ำยาทั้ง 2 ส่วน เขย่า 15 วินาทีแรก และเขย่า
1 ครั้งทุกๆครึ่งนาที
น้ำยาส่วน A เมื่อใช้เสร็จแล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ จนกว่าจะหมดอายุน้ำยา
แต่ส่วน B ใช้แล้วทิ้งเลย (ส่วน B ไม่แพงเท่าไหร่ หรอกครับ)
เอกสารอ้างอิง
- สุดา เกียรติกำจรวงศ์, นวลจันทร์ เถระพัฒน์. เคมีภาพถ่าย,
ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรุงเทพ.
- Smith, Jack W. The Photographic and Chemistry Collection, http://www.jetcity.com/~mrjones
.
"http://thaimonochrome.tripod.com"
|