เอกรงค์สโมสร > ห้องสมุด > น้ำยาล้างฟิล์ม > FX-1  
FX-1
น้ำยาล้างฟิล์มให้ความคนชัดสูงจัด

    กลุ่มน้ำยา FX นี้เป็นฝีมือการคิดค้นทดลองของ คุณ Geoffrey W. Crawley โดยน้ำยาสูตร FX-1 ของคุณ Crawley นี้จัดได้ว่าเป็น Formula-1 ในด้านความคมชัดเลยทีเดียว ภาพที่ได้ยังคงความสวยงามในเรื่องน้ำหนักสีอยู่ และให้ความรู้สึกว่าภาพนั้นชัดเหมือกับว่า สลักลงไป ก็เนื่องจากว่ากลไกทางเคมีของน้ำยาสูตรนี้จะทำให้เกิดปรากฏการณ์เพิ่มความเปรียบต่างที่ขอบ (edge contrast) นั่นเอง FX-1 จะทำให้ฟิล์มมีเกรนหยาบกว่า D-76 อยู่บ้าง แต่นั่นแทบจะไม่เป็นปัญหาอะไรเลย เนื่องจากความน่าสนใจของภาพที่ได้นั้นไปอยู่ที่ รายละเอียดต่างๆที่ปรากฏชัดขึ้นแทน และเราสามารถลดขนาดเกรนลงได้อีกเล็กน้อยจาก การทดสอบถ่ายภาพ ที่ค่าความไวแสง, เวลาการล้าง, อุณหภูมิ และการเขย่าที่เหมาะสมที่สุดแทน สำหรับการตั้งค่าความไวแสงของฟิล์ที่จะมาล้างในน้ำยา FX-1 นี้ให้ทดสอบค่าเริ่มต้นที่ค่าความไวแสงสูงกว่าค่าที่ระบุไว้ที่กล่อง 1 stop 
     ข้อควรระวังในการน้ำยาล้างฟิล์มประเภทให้ความคมชัดสูงนี้คือมันจะเพิ่มความคมชัดในขณะเดียวกันก็เพิ่มความไม่คมชัดให้เห็น กันชัดๆ อีกด้วย!?! ดังนั้นในการถ่ายภาพจึงควรถ่ายให้มีคุณภาพของภาพที่สูง เช่น ใช้เลนส์ดีๆ ใช้รูรับแสงกลางๆ โฟกัสให้เหมาะ ใช้ขาตั้งกล้องกับสายลั่นชัตเตอร์ วัดแสงให้ถูกเป็นต้น 

การผสม stock solution
จะผสมน้ำยาแยกเป็น 2 ส่วนคือส่วน A และส่วน B น้ำยาส่วน A ต้องเก็บในขวดพลาสติคสีชา และน้ำยาส่วน B ควรเก็บในขวดพลาสติค น้ำที่ใช้ในการเตรียมน้ำยาส่วน A นั้นต้องเป็นน้ำที่มีความบริสุทธ์สูงมาก ควรใช้น้ำกลั่นแบบที่ใช้ในห้องทดลองเคมี รวมถึงภาชนะที่จะ ใช้ผสมน้ำยา ขวดที่จะใช้เก็บ และอุปกรณ์ทุกชิ้นที่จะใช้ในการผสม ต้องล้างให้สะอาดและชะหรือกลั้ว (rinse) ด้วยน้ำกลั่นเสียก่อน ...เด็กสายวิทย์คงทำเป็นไม่มีปัญหา 

ส่วนผสมน้ำยาส่วน A
น้ำกลั่น (90 oF/ 32 oC)
900
ml
Metol
5
g
Sodium sulfite (anhy) 
50
g
สารละลาย Potassium Iodide 0.001%
50
ml
เติมน้ำกลั่นจนครบ
1000
ml

การผสมน้ำยาส่วน A
    ให้เติม Sodium Sulfite เพียงปลายช้อนลงไปและคนให้ละลายก่อน เป็นการกันไม่ให้ เกิดปฏิกิริยา Oxidation กับ Metol แต่ถ้าใส่ Sodium Sulfite มากเกินไป Metol ก็จะละลายยาก หลังจากนั้นเติมสารต่างๆตามลำดับ อย่าสลับขั้น และอย่าลืมว่าต้องคนสารให้ ละลายให้หมดก่อน แล้วจึงเติมสารตัวถัดไป กฏข้อนี้ยังคงใช้ในการผสมน้ำยาทุกชนิด 
การเตรียม สารละลาย Possium Iodide 0.001%
1. ละลายเกล็ด Potassium Iodide 1 g ในน้ำกลั่น 1000 ml 
2. ตวงสารละลายจากข้อ 1. มา 100 ml แล้วเติมน้ำกลั่นลงไปจนครบ 1000 ml 
3. ตวงสารละลายจากข้อ 2. มา 100 ml แล้วเติมน้ำกลั่นลงไปจนครบ 1000 ml 
เราก็จะได้ สารละลาย Possium Iodide 0.001% หรือสารละลายที่มี Potassium Iodide ละลายอยู่ 1 mg ต่อ 100 ml 

ส่วนผสมน้ำยาส่วน B
น้ำกลั่น (90 oF/ 32 oC)
900
ml
Sodium Carbonate (anhy) 
25
g
เติมน้ำกลั่นจนครบ
1000
ml

อายุการเก็บน้ำยา
    น้ำยาส่วน A เมื่อเก็บเต็มขวดจะเก็บได้นานประมาณ 1 ปี แต่เราสามารถยืดอายุการเก็บน้ำยาได้โดยการเติม isopropyl alcohol 50 ml ลงไปแทนที่การเติมน้ำกลั่นในขั้นตอนสุดท้ายของการผสมน้ำยา แต่จะทำให้สมบัติของน้ำยาเปลี่ยนไป เวลาที่ใช้ในการล้างจะสั้นลงและ การเขย่าก็จะต้องลดลงด้วย 
    น้ำยาส่วน B มีอายุการเก็บประมาณ 1 ปีเช่นเดียวกัน และควรเก็บน้ำยาส่วน B นี้ในขวดพลาสติค ไม่ควรเก็บในขวดแก้ว 

การผสมน้ำยาเพื่อจะใช้งาน (working solution)
    ให้ผสมน้ำยาในอัตราส่วน A : B : น้ำกลั่น เท่ากับ 1:1:8  แล้วลดอุณหภูมิน้ำยามาอยู่ที่ 20 oC เมื่อผสมแล้วให้ใช้งานทันที 

การล้างฟิล์ม
    ฟิล์มที่จะมาล้างในน้ำยา FX-1 ให้ถ่ายที่ความไวแสงสูงกว่าที่ระบุข้างกล่อง 1 stop เวลาล้างควรทดสอบที่ช่วงเวลาประมาณ 12-16 นาที ที่ 20 oC อย่าเขย่ามากไม่งั้นเกรนจะขึ้น ควรจะแกว่งแท็งค์เบาๆเพียง 5 ครั้งต่อนาที หรือหมุนแท็งค์ 6-8 รอบต่อนาที เมื่อใช้ปริมาณ น้ำยา 300 ml และเพิ่มเป็น 10-12 รอบต่อนาทีเมื่อใช้แท็งค์ขนาดใหญ่ จากนั้นก็ใช้ stopbath, fix, ฯลฯ ตามปกติ

เอกสารอ้างอิง
- Smith, Jack W. The Photographic and Chemistry Collection, http://www.jetcity.com/~mrjones .
- Fotoinfo.com, http://www.fotoinfo.com .


"http://thaimonochrome.tripod.com"