Fixer 24
Fixer 24 เป็นสูตรน้ำยาคงภาพแบบไม่มี hardening agent สูตรน้ำยาแบบนี้เหมาะที่จะนำมาล้างกระดาษ
เนื่องจากว่า Hardening agent นั้นไม่มีความสำคัญนักกับการล้างกระดาษ เมื่อไม่มี
hardening agent สารเคมีต่างๆจาก fixer ที่ตกค้างอยู่ในเยื่อไวแสง จะถูกล้างออกได้ง่ายและหมดจดกว่า
นอกจากนั้นกระดาษที่ได้รับการ fix แบบ nonhardening นี้จะนำไปทำ tone หรือทำการ
retouch ได้ดีกว่าด้วย ที่จริงแล้ว ผลดีดังกล่าวก็เกิดขึ้นกับ film เช่นกันแต่ก็ต้องระวังว่าเยื่อไว้แสงที่อ่อนตัวในขณะที่เปียกน้ำนั้น
จะถูกทำลายได้ง่ายมาก ทางเลือกที่ดีอีกอย่างหนึ่ง คือการ fix film ในน้ำยาแบบ
nonhardening และล้างน้ำอย่างระมัดระวัง จากนั้นจึง นำ film ไปใสในน้ำยา hardener
, ล้างน้ำ แล้วจึงนำฟิล์มไปทำให้แห้งตามกระบวนการต่อไป
ส่วนผสม stock solution
Water (125 oF / 52 oC) |
500 |
ml |
Sodium thiosulphate, pentahydrate* |
240 |
g |
Sodium sulfite, anhydrate |
10 |
g |
Sodium metabisulfite |
25 |
g |
เติมน้ำเย็นจนครบ |
1000 |
ml |
* Sodium thiosulphate, pentahydrate คือ hypo แบบผลึกที่ขายกันทั่วไป
อายุการเก็บน้ำยา
เก็บได้ประมาณ 3 เดือนในขวดที่บรรจุน้ำยาเต็ม
การใช้
ไม่ต้องเจือน้ำ ใช้ที่ 68 oF / 20 oC.
Film : 5-10 นาที
Paper : ควรใช้วิธีล้างแบบ 2 bath คือล้างแบบ 2 ถาด
- ถาดแรก เป็นน้ำยา fixer ที่เคยผ่านการใช้งานมาแล้วเช่นเป็นน้ำยาเก่า
ที่เคยนำไป fix film มาแล้ว หรือเคยเป็นน้ำยาถาด 2 จากการ fix กระดาษ
- ถาดที่ 2 เป็นน้ำยา fixer สดใหม่
การ fix ก็คือ ล้างในน้ำยาถาดแรก 5 นาที จากนั้นจึงนำไปล้างต่อในน้ำยาถาด
2 อีก 5 นาที การล้างแบบนี้จะทำให้เราสามารถใช้น้ำยา fixer ได้อย่างคุ้มค่าและได้ประสิทธิภาพสูงกว่า
ปริมาณการใช้
น้ำยาสดใหม่ 1 ลิตรสามารถล้างกระดาษขนาด 8" X 10" ได้ 25 แผ่น สำหรับการล้างฟิล์มควรเปลี่ยนน้ำยาใหม่เสมอ
เอกสารอ้างอิง
- Smith, Jack W. The Photographic and Chemistry Collection,
http://www.jetcity.com/~mrjones
.
"http://thaimonochrome.tripod.com"
|