เอกรงค์สโมสร > ห้องสมุด > น้ำยาล้างกระดาษ > Edwal 102  
Edwal 102

    สูตรน้ำยาล้างกระดาษสูตรนี้ ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นสูตรน้ำยาล้างกระดาษที่ดีที่สุดสูตรหนึ่ง ที่ Dr. Edmund Lowe ผู้พัฒนาน้ำยาในกลุ่ม Edwal ...เมื่อ 70 กว่าปีก่อน เป็นผู้คิดขึ้น สูตรนี้ถูกออกแบบมาให้สร้างภาพสีดำกลาง ให้การไล่โทน ที่สวยงามดีเลิศ เป็นน้ำยาที่สร้างภาพค่อนข้างช้า แต่สามารถแปลผันช่วงเวลาการล้างได้มากโดยที่ภาพไม่เสีย และยังเป็นน้ำยาที่เก็บไว้ได้นานด้วย

ส่วนผสม stock solution
Water (125oF / 52 oC) 
900
ml
Sodium sulfite
80
g
Sodium Phosphate, tri-basic*
120
g
Glycin
25
g
Potassium Bromide
3
g
เติมน้ำเย็นจนครบ
1000
ml
*Trisodium Phosphate หรือ Trisodium Orthophosphate

การใช้
    เจือน้ำ 1:3 สำหรับกระดาษแบบสร้างภาพช้า (มักจะเป็นกระดาษแบบ Fibre Base ) สำหรับกระดาษสร้างภาพเร็ว (Rapid paper ...มักเป็นพวกกระดาษ RC) ให้เจือจางกับน้ำที่อัตราส่วน 1:4

    ดังที่ได้เกริ่นไว้ว่า น้ำยาสูตรนี้สร้างภาพช้า ในช่วงนาทีแรกของการล้างภาพ จะได้ภาพเหมือนกับว่าเราฉายแสงน้อยเกินไป แต่ในที่สุด การสร้างภาพจะสมบูรณ์เต็มที่ โดยใช้เวลาประมาณ 3 - 4 นาที แต่เรายังสามารถล้างต่อไปได้จนอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 6 นาที (ขึ้นกับ กระดาษด้วย) โดยภาพที่ได้จะมีโทนสีออกเย็นกว่า ...สวยไปอีกแบบ ต้องลองทดสอบเวลาล้าง โทนสีที่คุณชอบกับกระดาษแต่ละชนิด

    Sodium Phosphate, tri-basic สามารถทำปฏิกิริยากับสารที่ให้กลุ่มอณุมูลของ Aluminum Sulfate (alum) ได้เป็น Aluminum Phosphate ซึ่งไม่ละลายน้ำ ซึ่งจะกลายเป็นเกล็ดอยู่ในภาพ แต่ก็สามารถละลายออกได้ด้วย สารละลายกรดเกลือ 5% แต่ทางที่ดี เราควรใช้น้ำยา fixer แบบที่ไม่มีตัว Hardener (พวก Potassium Alum) จะปลอดภัยกว่า หรืออีกวิธีที่จะขจัด  Sodium Phosphate, tri-basic ออกไปเสียก่อนโดยการแช่ภาพใน Citric acid stop bath ประมาณ 2 นาทีก่อนทำการ fix การเตรียม Citric acid stop bath
ก็โดยการละลาย Citric acid 7 กรัม ในน้ำ 1 ลิตร เสร็จแล้วเราก็จะสามารถนำกระดาษไป fix ในน้ำยาแบบมี Hardener ได้

    น้ำยาตัวนี้จะมีสีค่อนข้างคล้ำเนื่องจากมี Glycin เป็นส่วนผสม แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไรเมื่อนำมาใช้ เพราะนั่นหมายถึง น้ำยายังสดใหม่อยู่ เราสามารถเก็บน้ำยา stock ไว้ได้นาน แต่น้ำยาที่เจือจางน้ำแล้วจะหมดอายุ ค่อนข้างเร็ว จึงควรรีบใช้ให้เสร็จ และไม่สามารถเก็บเพื่อนำมาใช้ใหม่ได้ น้ำยา stock ที่เก็บไว้อาจเกิดการตกผลึก แต่เรายังสามารถนำมาใช้ได้โดยการอุ่นน้ำยา  (125 oF / 52 oC) เพื่อให้ผลึกละลายก่อนใช้

เอกสารอ้างอิง
- Smith, Jack W. The Photographic and Chemistry Collection, http://www.jetcity.com/~mrjones .


"http://thaimonochrome.tripod.com"