Dr. Beers
น้ำยาล้างกระดาษของ Dr. Beers เป็นสูตรแบบแยกส่วนผสม เราสามารถเปลี่ยนคอนทราสของกระดาษที่ล้างได้โดย
เปลี่ยนปริมาณอัตราส่วนของ ส่วนผสม น้ำยา A และน้ำยา B คล้ายกับการเปลี่ยนเกรดกระดาษ
ในน้ำยา A จะเป็นน้ำยาที่ให้ความเปรียบต่างต่ำ ซึ่งมี Metol อยู่ ส่วนน้ำยา
B มี Hydroquinone ซึ่งเป็น Developing Agent ที่ให้ความเปรียบต่างสูง ดังนั้น
การเพิ่มหรือลดอัตราส่วนน้ำยา A และ B ก็คือการเปลี่ยนอัตราส่วนของ Metol กับ
Hydroquinone ในน้ำยานั่นเอง นอกจากนั้น น้ำยา B ยังมีค่าความเป็นเบสสูงกว่าน้ำยา
A ซึ่งเป็นสภาวะกระตุ้นการสร้างภาพที่สูงกว่า
ส่วนผสม solution A
น้ำอุ่น (125 oF / 52
oC) |
750
|
ml |
Metol |
8
|
g |
Sodium Sulfite (dessicated) |
23
|
g |
Sodium Carbonate (monohydrated) |
23
|
g |
Potassium Bromide |
1
|
g |
เติมน้ำเย็นจนครบ |
1000
|
ml |
ส่วนผสม solution B
น้ำอุ่น (125 oF
/ 52 oC) |
750
|
ml |
Hydroquinone
|
8
|
g |
Sodium Sulfite (dessicated) |
23
|
g |
Sodium Carbonate (monohydrated) |
32
|
g |
Potassium Bromide |
2.5
|
g |
เติมน้ำเย็นจนครบ |
1000
|
ml |
การใช้
แบ่งปริมาณน้ำยาที่ใช้ทั้งหมดออกเป็น 16 ส่วน เราจะใช้อัตราส่วน ของ A:B:น้ำ
ดังนี้
อัตราส่วนแบบที่ #
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
น้ำยา Solution A (ส่วน)
|
8
|
7
|
6
|
5
|
4
|
3
|
2
|
น้ำยา Solution B (ส่วน)
|
0
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
14
|
น้ำ (ส่วน)
|
8
|
8
|
8
|
8
|
8
|
8
|
0
|
ความเปรียบต่างที่ได้ แบบที่ #1 จะให้ความเปรียบต่างต่ำที่สุด
และแบบที่ #7 จะให้ความเปรียบต่างสูงที่สุด อัตราส่วนแบบที่ #4 จะให้ความเปรียบต่างปกติ
เอกสารอ้างอิง
- Johnson, Chris. The practical zone system, Butterworth Publishers,
USA. 1986. ISBN 0-240-51729-6.
"
http://thaimonochrome.tripod.com
"
|